ประวัติสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ



 

สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หรือ Thai International Freight Forwarders Association: TIFFA (ทิฟฟ่า) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2530 (1987) โดยจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

โดยการสนับสนุนจากสภาหอการค้าไทยและมีสมาชิกก่อตั้ง 8 บริษัท โดยมีคุณสม เปลี่ยนเสน่ห์ เป็นนายกสมาคมท่านแรก และคุณคลัง ตันติมงคลสุขเป็นนายกสมาคมท่านที่สอง ในช่วงเริ่มต้นของการดำเนินงานสมาคมมุ่งเน้นไปในด้านให้ความรู้วิชาชีพแก่สมาชิกโดยมีการจัดฝึกอบรมวิชาเฉพาะเป็นระยะ ๆ และได้ร่วมมือกับ UNESCAP: United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก องค์การสหประชาชาติ ในการฝึกอบรมวิชาชีพผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder)  ปัจจุบันสมาคมได้ดำเนินการมาแล้วสู่ปีที่ 37

 

เนื่องจากธุรกิจผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ไม่เป็นที่รู้จักกันดีและถูกมองว่าผู้ให้บริการเป็นเพียงนายหน้าตัวแทนจากหลายหน่วยงานของราชการและเอกชนในช่วงการก่อตั้งสมาคม สมาคมจึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สมาชิกสมาคมได้มีมาตรฐานมากขึ้นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทั้งผู้ใช้บริการและหน่วยงานของรัฐ

 

ในสมัยที่คุณพงศ์เทพ ตั้งพินิจจิต นายกสมาคมท่านที่สามในปี 1992 สมาคมได้สมัครเป็นสมาชิกของสมาพันธ์สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (FIATA – International Federation of Freight Forwarders) เพื่อเป็นการยกระดับสมาคมให้มีมาตรฐานสากล นอกจากนี้ สมาคมฯยังได้เข้าร่วมเพื่อก่อตั้งสมาพันธ์สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าแห่งอาเซียนในตั้งแต่ปี 1991 จนสำเร็จในปี 1993 โดยประเทศไทยเป็นรองประธานสมาพันธ์

 

ต่อมาในสมัยคุณสมศักดิ์ วิเศษเรืองโรจน์ เป็นนายกสมาคมท่านที่สี่ในปี 1994 ได้ริเริ่มการจัดหาประกันภัยความรับผิดแบบกลุ่ม (Group Liability Insurance) ให้กับสมาชิกของสมาคม เพื่อให้สมาชิกของสมาคมสามารถใช้ FIATA Bill of Lading ได้ตามหลักเกณฑ์ของ FIATA และเพื่อช่วยสมาชิกสมาคมได้มีประกันภัยความรับผิดเพื่อการขนส่งเนื่องจากสมาชิกรายย่อยของบริษัทไทยขาดความสามารถในการจัดหาประกันภัยเองได้และเป็นการยกระดับความน่าเชื่อถือต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  ในปี 1995 ประเทศไทยได้เข้ารับตำแหน่งเป็นประธานสมาพันธ์สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าแห่งอาเซียนในสมัยนี้ 

ในปี 1996  คุณสมศักดิ์ได้เล็งเห็นว่าธุรกิจการให้บริการขนส่งเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ขาดแคลนบุคลากรในอุตสาหกรรมนี้ จึงมีแนวคิดในการจัดตั้งโรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ (ITBS: International Transport and Business School) ขึ้นเพื่อพัฒนาและป้อนกำลังคนให้กับสมาชิก จึงได้หารือกับกรรมการสมาคมและก่อตั้งโรงเรียนดังกล่าวในปี 1997 (พ.ศ.2540) ซึ่งทำให้สมาชิกได้ประโยชน์จากการลดค่าใช้จ่ายในการสรรหาบุคลากรและได้บุคลากรที่มีความรู้พร้อมทำงานได้ในระดับหนึ่ง และในปีเดียวกัน (1996) สมาคมได้มีการประชุมเพื่อระดมทุนในการเข้าร่วมทุนก่อตั้งบริษัทเทรดสยามจำกัด เพื่อทำหน้าที่เป็น “National Gateway” ให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) ในวงการการค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศโดยมีสมาชิกสนใจร่วมลงทุนอย่างมาก โดยมีจัดตั้งบริษัททิฟฟ่าจำกัดขึ้นเพื่อลงทุนในบริษัทเทรดสยามจำกัดดังกล่าว

 

ในปี 1997 คุณสุวิทย์ รัตนจินดา ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมต่อจากคุณสมศักดิ์ ได้ทำการพัฒนายกระดับในมิติด้านต่าง ๆ เช่น

  • บริษัททิฟฟ่าจำกัด จึงได้ก่อตั้ง บริษัท TIFFA ICD Co., Ltd ขึ้น ในปี 2541 (1998) เพื่อใช้เป็นลานบรรจุสินค้าเพื่อการนำเข้า-ส่งออก และการผ่านพิธีการ เชื่อมต่อท่าเรือแหลมฉบัง
  • บริษัททิฟฟ่าจำกัด ก่อตั้งบริษัท TIFFA EDI SERVICES CO., LTD ขึ้นในปี 2542 (1999) และเพื่อให้บริการแก่สมาชิกและกลุ่มผู้ให้บริการอย่างครบวงจร เนื่องจากกรมศุลกากรจัดให้มีการส่งข้อมูลใบขนส่งสินค้าผ่านระบบ EDI
  • ก่อตั้ง TIFFA Logistics Center Co., Ltd. ในปี 2008 เพื่อให้บริการด้านรถบรรทุกและอื่นๆ

 

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทข้างต้นเพื่อเป็นการให้บริการแก่สมาชิกสมาคมในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจและช่วยลดต้นทุนในการประกอบการ

 

ในปี 1988 ได้เข้ารับตำแหน่งประธานสมาพันธ์สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าแห่งอาเซียน หรือ AFFA

ในปี 2001 คุณสุวิทย์ ได้ผลักดันเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่าย ลดลงจาก 3% เป็น 1%  ซึ่งกรมสรรพากร ได้ออกประกาศคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 110/2545

ในปี 2006 สมาคมฯ ได้รับรางวัลจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่

  • รางวัลดีเด่น: กระบวนงานการให้บริการด้านเอกสารการส่งออก จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
  • สมาคมการค้าดีเด่น ประจำปี 2549 จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • Awards from World Customs Organization (WCO) 2007

 

ในปี 2007 คุณสุวิทย์ ได้ร่วมก่อตั้ง “สมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย” Thai Logistics Services Provider Federation (TLSP) และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์ฯ  และ ในปีเดียวกันได้รับการคัดเลือกจาก FIATA ให้ดำรงตำแหน่ง Vice President 

 

ในปี 2010 (พ.ศ. 2553)  สมาคมฯ  ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน FIATA World Congress 2010 ระหว่างวันที่ 4-8 ตุลาคม 2553 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  และหอประชุมกองทัพเรือ และในปีเดียวกันนี้ คุณสุวิทย์ ได้รับเกียรติจาก FIATA  ให้ดำรงตำแหน่ง Senior Vice President และต่อมาดำรงตำแหน่ง Honorary Board Member  FIATA มากระทั่งถึงปัจจุบัน

 

 

ในปี 2012 คุณสมศักดิ์ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมอีกครั้ง และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการค้าระหว่างประเทศ ในคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี

 

ต่อมาในปี 2014 คุณเกตติวิทย์ ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมท่านที่เจ็ด  สมาคมฯ ได้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (Thailand Professional Qualification Institute (Public Organization) (TPQI) เพื่อสร้างกรอบการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศ และเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของสมาชิกได้ต่อยอดองค์ความรู้ด้านวิชาชีพอย่างมีมาตรฐาน

 

ในปี 2018  ASEAN Federation of Forwarders Association (AFFA) ได้จัดตั้งสถาบัน AFFA Logistics Institute (ALI) เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ในกลุ่มประเทศอาเซียน  โดย คุณสมศักดิ์ วิเศษเรืองโรจน์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานของสถาบันดังกล่าว

 

ในปี 2019 คุณวิฑูรย์ สันติบุญญรัตน์ ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมท่านที่แปด ซึ่งสมาคมฯ ได้จัดทำโครงการ TIFFA Mark หรือ การจัดการประเมินมาตรฐาน TIFFA MARK ขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการของสมาชิก ให้มีมาตรฐานคุณภาพธุรกิจโลจิสติกส์ให้เป็นที่ยอมรับในธุรกิจโลจิสติกส์ ขึ้นในปี 2021 (พ.ศ.2564)โดยจะแบ่งเกณฑ์การพิจารณาออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  • ระดับ Bronze
  • ระดับ Silver
  • ระดับ Gold

และในปีเดียวกันนั้นเอง สมาคมฯ ได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ World Logistics Passport หรือ WLP ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ก่อตั้ง โดย DP World เพื่อเป็นการขยายเครือข่ายพันธมิตรของสมาคมให้กับสมาชิก

ในปี 2023 สมาคมโดยคุณเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์ นายกสมาคมคนที่เก้า ได้ลงนามกับ FIATA ในการเข้าร่วมการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในการขนส่งทางทะเลที่เรียกว่า FIATA e-Bill of lading

และในปีเดียวกัน สมาคมฯ ได้ร่วมลงนามความร่วมมือร่วมกับ 9 สมาคม/สมาพันธ์ เพื่อความร่วมมือในการพัฒนาภาคธุรกิจโลจิสติกส์ ซึ่งประกอบด้วย

  1. สมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย
  2. สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย
  3. สมาคมสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย
  4. สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
  5. สมาคมตัวแทนออกของรับอนุญาตไทย
  6. สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย
  7. สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย
  8. สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย
  9. สมาคมธุรกิจคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น

นอกจากนี้สมาพันธ์และสมาคมได้ร่วมกลุ่มเพื่อก่อตั้ง กลุ่ม 1Logistics ภายใต้แนวความคิด One Vision One Collaboration One Future การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และได้ร่วมลงนามภายในงาน TILOG 2023

 

            ในช่วงปลายปี 2023 บริษัท ทิฟฟ่า โลจิสติกส์ (2008) จำกัด ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับบริษัท สปิดิชั่น ซิกม่า จำกัด ในการเป็นผู้ประกอบกิจการคลังสินค้าปลอดอากรในพื้นที่การท่าเรือกรุงเทพฯ (Bangkok Port Free Zone: BKP FZ).  ในปีเดียวกัน บริษัท ทิฟฟ่า โลจิสติกส์ เซนเตอร์ จำกัด ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการขยายการดำเนินการท่าเรือบกและคลังสินค้าในพื้นที่ลาดกระบัง และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้อย่างเป็นทางการก่อนสิ้นปี 2024  

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มีดังนี้

  1. ส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
  2. สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกแก้ไขอุปสรรคขัดข้องต่างๆ รวมทั้งเจรจาทำความตกลงกับบุคคลภายนอก เพื่อเป็นประโยชน์ร่วมกันในการประกอบวิสาหกิจของสมาชิกให้สอดคล้องและติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดการค้าเกี่ยวกับธุรกิจการรับจัดการขนส่งสินค้า ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่การประกอบธุรกิจการค้าอุตสาหกรรม การเงิน หรือเศรษฐกิจ
  3. ประสานความสามัคคี และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ในทางวิชาการ ข่าวสาร การค้า ตลอดจนการวิจัยเกี่ยวกับการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
  4. ขอสถิติหรือเอกสาร หรือขอทราบข้อความใดๆ จากสมาชิกเกี่ยวกับการดำเนินการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ด้วยความยินยอมของสมาชิก
  5. ส่งเสริมกิจการการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้ได้มาตรฐานสากล
  6. ร่วมมือกับรัฐบาล หรือหน่วยงานราชการ ในการส่งเสริมธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ให้อยู่ในมาตรฐานที่ดี สอดคล้องกับนโยบายของทางราชการ
  7. ทำความตกลงหรือวางระเบียบให้สมาชิกปฏิบัติหรืองดเว้นการปฎิบัติ เพื่อให้การประกอบวิสาหกิจของสมาชิกดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย
  8. ส่งเสริมพลานามัย การกีฬา และจัดงานบันเทิงเป็นครั้งคราว
  9. ประนีประนอม ข้อพิพาทระหว่างสมาชิกหรือระหว่างสมาชิกกับบุคคลภายนอก ในการประกอบวิสาหกิจ
  10. ให้ความอนุเคราะห์แก่สมาชิกในด้านงานสวัสดิการเท่าที่ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการค้า พ.ศ. 2509 (มอบส่วนลดในการจัดสัมมนาของสมาคมฯ)
  11. ไม่ดำเนินการในทางการค้าหรือการเมืองอย่างใดทั้งสิ้น

 

ปัจจุบันสมาคมฯ มีสมาชิก ทั้งสิ้น 252 บริษัท (ณ กรกฎาคม 2567) ประกอบด้วย

  • สมาชิกสามัญ จำนวน 189 บริษัท
  • สมาชิกสมทบ จำนวน 63 บริษัท

 

TIFFA Milestones of Success

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับหน่วยงานต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิเช่น

 

  1. FIATA: The International Federation of Freight Forwarders Associations

สมาพันธ์สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

https://fiata.com/home.html

  1. AFFA: Asean Freight Forwarders Associations

สมาพันธ์สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน

https://www.affa-asean.org/

  1. WLP: World Logistics Passport and DFA: Digital Freight Alliance by DP World

https://www.worldlogisticspassport.com/  

(ใส่ web site: DFA)

  1. 4. BOT: Board of Trade of Thailand โดยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

https://www.thaichamber.org/

  1. 5. TLSP: Thai Logistics Service Providers

สมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย

  1. 1Logistics: “One Vision, One Collaboration, One Future”

กลุ่มความร่วมมือวันโลจิสติกส์ “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งความร่วมมือ หนึ่งอนาคต”

 

หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่สมาคมฯ ประสานงานด้วย

 

  1. UN ESCAP: United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก องค์การสหประชาชาติ
  2. กระทรวงพาณิชย์
  3. กระทรวงคมนาคม
  4. กระทรวงการคลัง
  5. กระทรวงแรงงาน
  6. สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
  7. อื่นๆ สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

TIFFA is
currently a member
in good standing of
the following organisations:

  • FIATA

    (The International Federation of Freight Forwarders Associations)

  • AFFA

    (Asean Federation Forwarders Associations)

  • BOT

    (Board of Trade of Thailand )

TH Test Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam, quis nostrud exercitation ullamco laboris nisi ut aliquip ex ea commodo consequatLorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua.

อ่านเพิ่มเติม