ประวัติความเป็นมา



มาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หรือ Thai International Freight Forwarders Association : TIFFA (ทิฟฟ่า) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2530 (1987) โดยจดทะเบียนกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ ในการจัดตั้งสมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนจาก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 

ในครั้งนั้นมีบริษัทสมาชิกสมาคมฯ ร่วมก่อตั้งสมาคมฯ 8 บริษัท โดย คุณสม เปลี่ยนเสน่ห์ เป็นนายกสมาคมฯ ท่านแรก และคุณคลัง ตันติมงคลสุข เป็นนายกสมาคมฯ ท่านที่สอง 

ปัจจุบันสมาคมฯ เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 37 ปี ในช่วงเริ่มต้นของการดำเนินการบริหารสมาคมฯ สมาคมฯ มุ่งเน้นในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาชีพแก่สมาชิกสมาคมฯ โดยจัดให้มีการฝึกอบรมวิชาเฉพาะเป็นระยะๆ โดยร่วมมือกับ UNESCAP: United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific หรือ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและเเปซิฟิก องค์การสหประชาชาติ ในการจัดฝึกอบรมวิชาชีพผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หรือ Freight Forwarder

เนื่องจากธุรกิจผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไม่เป็นที่รู้จักและถูกมองว่าผู้ให้บริการเป็นเพียงนายหน้าตัวแทนจากหลายหน่วยงานของราชการและเอกชน ในช่วงก่อตั้งสมาคมฯ สมาคมฯ จึงได้เร่งพัฒนาในหลายๆด้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สมาชิกสมาคมฯ มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ทั้งผู้ใช้บริการและหน่วยงานของรัฐ

ในปี 1992 คุณพงศ์เทพ ตั้งพินิจจิต นายกสมาคมฯ ท่านที่สาม สมาคมฯได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หรือ FIATA: International Federation of Freight Forwarders เพื่อยกระดับสมาคมฯ ให้มีมาตรฐานสากล 

นอกจากนี้ ในช่วงปี 1991 สมาคมฯ ได้ร่วมก่อตั้ง สมาพันธ์สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าแห่งอาเซียน หรือ AFFA: ASEAN Federation of Forwarders Associations แล้วเสร็จในปี 1993 และในครั้งนั้น ผู้แทนสมาคมฯ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสมาพันธ์ฯ 

REZ_BOD.jpg

 

ต่อมาในปี 1994 คุณสมศักดิ์ วิเศษเรืองโรจน์ เป็นนายกสมาคมฯ ท่านที่สี่ ได้ริเริ่มจัดหาประกันภัยความรับผิดแบบกลุ่ม หรือ Group Liability Insurance ให้กับสมาชิกของสมาคมฯ เพื่อให้สมาชิกของสมาคมฯ สามารถใช้ FIATA Bill of Lading ได้ตามหลักเกณฑ์ของ FIATA และเพื่อช่วยสมาชิกสมาคมฯ ให้มีประกันภัยความรับผิดเพื่อการขนส่ง เนื่องจากสมาชิกรายย่อยของบริษัทไทยยังขาดความสามารถในการจัดหาประกันภัยเอง และเพื่อเป็นการยกระดับความน่าเชื่อถือต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

และในปี 1995 ประเทศไทยได้เข้ารับตำแหน่งประธานสมาพันธ์ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าแห่งอาเซียน หรือ AFFA

ปี 1996 คุณสมศักดิ์ เล็งเห็นว่าธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ขาดแคลนบุคลากรในอุตสาหกรรมนี้ จึงมีแนวคิด ในการจัดตั้งโรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ หรือ ITBS: International Transport and Business School ขึ้น เพื่อพัฒนาและป้อนกำลังคนให้แก่สมาชิกสมาคมฯ 

ในครั้งนั้นจึงได้หารือร่วมกับคณะกรรมการสมาคมฯ และก่อตั้งโรงเรียน ในปี 1997 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสมาชิกลดค่าใช้จ่ายในการสรรหาบุคลากรและยังได้บุคลากรที่มีความรู้ความรู้ความสามารถในการทำงานได้ในระดับหนึ่ง

และในปีเดียวกันนั้น (1996) สมาคมฯ ได้จัดประชุมเพื่อระดมทุนในการเข้าร่วมทุนก่อตั้ง บริษัท เทรดสยาม จำกัด เพื่อทำหน้าที่เป็น "National Gateway" เพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล้กทรอนิกส์ หรือ Electronic Data Interchange ในวงการการค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยในครั้งนั้นมีสมาชิกสมาคมฯ ให้ความสนใจร่วมลงทุนเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้จึงได้จัดตั้งบริษัท ทิฟฟ่า จำกัด ขึ้น เพื่อลงทุนในบริษัท เทรดสยาม จำกัด

ต่อมาในปี 1997 คุณสุวิทย์ รัตนจินดา ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมฯ ท่านที่ห้า หลังเข้ารับตำแหน่ง ได้พัฒนาและยกระดับการบริหารจัดการในมิติต่างๆ อาทิเช่น 

    • ก่อตั้งบริษัท ทิฟฟ่า จำกัด ซึ่งต่อมาได้ก่อตั้ง บริษัท ทิฟฟ่า ไอซีดี จำกัด ขึ้น ในปี 1998 เพื่อใช้เป็นลานบรรจุสินค้า เพื่อการนำเข้า-ส่งออก และผ่านพิธีการ เชื่อมต่อท่าเรือแหลมฉบัง

    • บริษัท ทิฟฟ่า จำกัด ต่อมาได้ก่อตั้ง บริษัท ทิฟฟ่า อีดีไอ เซอร์วิสเซส จำกัด ในปี 1999 เพื่อให้บริการแก่สมาชิกและกลุ่มผู้ให้บริการอย่างครบวงจร เนื่องจากกรมศุลกากรจัดให้มีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าผ่านระบบ EDI 

    • ก่อตั้ง บริษัท ทิฟฟ่า โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ จำกัด ในปี 2008 เพื่อให้บริการด้านรถบรรทุกและอื่นๆ

ในการจัดตั้งบริษัทนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่สมาชิกของสมาคมฯ ในทุกๆด้าน ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ และช่วยลดต้นทุนในการประกอบการ 

    • ปี 1988 ได้เข้ารับตำแหน่งประธานสมาพันธ์สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าแห่งอาเซียน หรือ AFFA
    • ปี 2001 ผลักดัน เรื่อง ภาษี หัก ณ ที่จ่าย ลดลงจาก 3% เป็น 1% ซึ่งกรมสรรพากร ได้ออกประกาศคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 110/2545
    • ปี 2006 สมาคมฯ ได้รับรางจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่

      •  รางวัลดีเด่น: กระบวนการให้บริการด้านเอกสารการส่งออก จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ ก.พ.ร. 

      •  

 


    • สมาคมการค้าดีเด่น ประจำปี 2549 จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
    • Awards from World Customs Organization (WCO) 2007

                                                                         

 

  • ปี 2007: ร่วมก่อตั้ง “สมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย" Thai Logistics Services Provider Federation (TLSP) และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์ฯ  และ ในปีเดียวกันได้รับการคัดเลือกจาก FIATA ให้ดำรงตำแหน่ง Vice President

  • ปี  2010: เป็นเจ้าภาพจัดงาน FIATA World Congress 2010 ระหว่างวันที่ 4-8 ตุลาคม 2553 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และหอประชุมกองทัพเรือ และได้รับเกียรติจาก FIATA ให้ดำรงตำแหน่ง Senior Vice President และต่อมาดำรงตำแหน่ง Honorary Board Member ของ FIATA  มากระทั่งถึงปัจจุบัน

 

ปี 2012 คุณสมศักดิ์ วิเศษเรืองโรจน์ ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมฯ อีกครั้ง และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการค้าระหว่างประเทศ ในคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี

 

ต่อมาในปี 2014 คุณเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมฯ ท่านที่เจ็ด สมาคมฯ ได้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (Thailand Professional Qualification Institute (Public Organization) (TPQI) เพื่อสร้างกรอบการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศ และเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของสมาชิกได้ต่อยอดองค์ความรู้ด้านวิชาชีพอย่างมีมาตรฐาน

 

ในปี 2018  ASEAN Federation of Forwarders Association (AFFA) ได้จัดตั้งสถาบัน AFFA Logistics Institute (ALI) เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ในกลุ่มประเทศอาเซียน  โดย คุณสมศักดิ์ วิเศษเรืองโรจน์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานของสถาบันดังกล่าว

 

ในปี 2019 คุณวิฑูรย์ สันติบุญญรัตน์ ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมท่านที่แปด ซึ่งสมาคมฯ ได้จัดทำโครงการ TIFFA Mark หรือ การจัดการประเมินมาตรฐาน TIFFA MARK ขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการของสมาชิก ให้มีมาตรฐานคุณภาพธุรกิจโลจิสติกส์ให้เป็นที่ยอมรับในธุรกิจโลจิสติกส์ ขึ้นในปี 2021 (พ.ศ.2564)โดยจะแบ่งเกณฑ์การพิจารณาออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  • ระดับ Bronze

  • ระดับ Silver

  • ระดับ Gold

และในปีเดียวกันนั้นเอง สมาคมฯ ได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ World Logistics Passport หรือ WLP ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ก่อตั้ง โดย DP World เพื่อเป็นการขยายเครือข่ายพันธมิตรของสมาคมให้กับสมาชิก

ในปี 2023 สมาคมโดยคุณเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์ นายกสมาคมคนที่เก้า ได้ลงนามกับ FIATA ในการเข้าร่วมการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในการขนส่งทางทะเลที่เรียกว่า FIATA e-Bill of lading

และในปีเดียวกัน สมาคมฯ ได้ร่วมลงนามความร่วมมือร่วมกับ 9 สมาคม/สมาพันธ์ เพื่อความร่วมมือในการพัฒนาภาคธุรกิจโลจิสติกส์  ซึ่งประกอบด้วย

  1. สมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย

  2. สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย

  3. สมาคมสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย

  4. สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

  5. สมาคมตัวแทนออกของรับอนุญาตไทย

  6. สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย

  7. สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย

  8. สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย

  9. สมาคมธุรกิจคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น

นอกจากนี้สมาพันธ์และสมาคมได้ร่วมกลุ่มเพื่อก่อตั้ง กลุ่ม "1Logistics" ภายใต้แนวความคิด One Vision One Collaboration One Future การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และได้ร่วมลงนามภายในงาน TILOG 2023

           และช่วงปลายปี 2023 บริษัท ทิฟฟ่า โลจิสติกส์ (2008) จำกัด ได้ลงนาม MOU ร่วมกับบริษัท สปิดิชั่น ซิกม่า จำกัด ในการเป็นผู้ประกอบกิจการคลังสินค้าปลอดอากรในพื้นที่การท่าเรือกรุงเทพฯ (Bangkok Port Free Zone: BKP FZ).  ในปีเดียวกัน บริษัท ทิฟฟ่า โลจิสติกส์ เซนเตอร์ จำกัด ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการขยายการดำเนินการท่าเรือบกและคลังสินค้าในพื้นที่ลาดกระบัง และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้อย่างเป็นทางการในปี 2024  

 

 

CB78B373-BACF-4601-B9D1-9018749E3266.jpg

สมาคมฯ ข้าร่วมเป็นสมาชิกกับหน่วยงานต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิเช่น

 

  1. FIATA: The International Federation of Freight Forwarders Associations

  2. AFFA: Asean Freight Forwarders Associations

  3. WLP: World Logistics Passport and DFA: Digital Freight Alliance by DP World

  4. BOT: Board of Trade of Thailand โดยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

  5. TLSP: Thai Logistics Service Providers

  1. 1Logistics: “One Vision, One Collaboration, One Future”

 

 

TIFFA is
currently a member
in good standing of
the following organisations:

  • FIATA

    (The International Federation of Freight Forwarders Associations)

  • AFFA

    (Asean Federation Forwarders Associations)

  • BOT

    (Board of Trade of Thailand )

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้

ตั้งค่าคุกกี้ยอมรับทั้งหมด

อ่านเพิ่มเติม